messager
place ข้อมูลหน่วยงาน
สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน
สภาพทั่วไปและข้อมูลพิ้นฐาน ตำบลบัวงามในอดีตขึ้นกับตำบลกลาง อำเภอเดชอุดม ต่อมาได้แยกออกมาเป็นตำบลบัวงาม องค์การบริหารส่วนตำบลบัวงามปัจจุบันประกอบด้วย 15 หมู่บ้าน และมีพื้นที่บางส่วนอยู่ในเขตเทศบาลตำบลบัวงาม ประกอบด้วย 6 หมู่บ้าน และอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบัวงามเต็มพื้นที่ประกอบด้วย 9 หมู่บ้าน องค์การบริหารส่วนตำบลบัวงามได้รับการยกฐานะขึ้นจากสภาตำบลบัวงาม เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลบัวงาม ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 โดยประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล วันที่ 16 ธันวาคม 2539 และมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์2540 “องค์การบริหารส่วนตำบลบัวงาม” ก่อตั้งขึ้นเมื่อ วันที่ 23 กุมภาพันธ์พ.ศ. 2540 ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 16ธันวาคม 2539 ตั้งอยูํทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ของอำเภอเดชอุดม ห่างจากที่ว่าการอำเภอเดชอุดมประมาณ 17 กิโลเมตร และจังหวัดอุบลราชธานี ระยะทางประมาณ63 กิโลเมตร 1.2 ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะสภาพพื้นที่โดยทั่วมีลักษณะเป็นที่ราบ เกษตรกรส่วนใหญํจะปลูกข้าว ส่วนพื้นที่ดอนจะปลูกยางพารา พืชผัก ไม้ผล อาณาเขต ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตตำบลคำครั่ง อำเภอเดชอุดม ทิศใต้ ติดต่อกับเขตตำบลโสกแสง อำเภอนาจะหลวย ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตตำบลหนองสะโน อำเภอบุณฑริก ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตตำบลกลาง อำเภอเดชอุดม 1.3 ลักษณะภูมิอากาศ สภาพอากาศของจังหวัดอุบลราชธานี แบํงออกเป็น 3 ฤดู ได้แก่ ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว อากาศร้อนอบอ้าวในฤดูร้อน และหนาวเย็นในฤดูหนาว เดือนที่มีอากาศร้อนอบอ้าวมากที่สุด คือ เดือนเมษายน และหนาวเย็นที่สุด คือ เดือนมกราคม 1.4 ลักษณะของดิน ลักษณะดินของพื้นที่ตำบลบัวงาม มีดินชุดตํางๆ แบํงตามสภาพพื้นที่ ดังนี้ พื้นที่ลุ่ม ชุดดินที่ 17,18,22,59 ลักษณะดินคือเป็นดินร้วนปนทรายสีเทาลึกมาก พื้นที่ค่อยข้างราบเรียบ ร้วนปนทรายหรือร้วนเหนียวปนทราย บางชั้นมีลูกรังหรือกรวดในดินชั้นล่าง ช่วงความลึก 50-100 เซนติเมตร หรือที่สูง ดินบนสีน้ำตาลหรือเทา ชั้นล่างสีเทา จุดประสีน้ำตาล แดง เหลือง การระบายน้ำเลว ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ กรดจัดมีน้ำท่วมขังในฤดูฝน พื้นที่ประมาณ 25 % ของพื้นที่ทั้งหมด ชุดดินที่ 37 ลักษณะดินคือเป็นดินร้วนปนทราย มีความลาดชัน เป็นดินร้วนหยาบถึงร้วนละเอียดปนทรายลึกมาก การระบายน้ำดีปานกลาง ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ เป็นกรดมากถึงด่างน้อย พื้นที่ประมาณ 19 % ของพื้นที่ทั้งหมด ชุดดินที่ 40 ลักษณะดินคือเป็นดินร้วนปนทราย มีความลาดชัน ดินร้วนหยาบถึงละเอียดปนทรายเกิดจากตะกอนริมน้ำ ดินบนมีสีน้ำตาล ความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำ เป็นกรดจัดมากถึงด่างน้อย พื้นที่ประมาณ 18 % ของพื้นที่ทั้งหมด พื้นที่ดอน ชุดดินที่ 40 ลักษณะดินคือเป็นดินร้วนปนทราย มีความลาดชัน ดินสีเหลือง การระบายน้ำดีปานกลาง ดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็นด่างเล็กน้อย ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ มีพื้นที่ประมาณ 17 % ของพื้นที่ทั้งหมด 1.5 ลักษณะของแหล่งน้ำ แหล่งน้ำที่สำคัญของตำบลบัวงาม ช่วยหล่อเลี้ยงประชาชนในตำบลบัวงามมีอยู่มีกินและประกอบอาชีพคือ ลำห้วยบัวเหนือลำห้วยบัวใต้ ลำห้วยแสนคำ และลำห้วยหินสิ่ว น้ำอุปโภค นำน้ำจากลำห้วยบัวเหนือ ลำห้วยบัวใต้ ลำห้วยแสนคำ และลำห้วยหินสิ่ว ซึ่งมีน้ำใช้ตลอดปี แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน จำนวน 15 หมู่บ้าน หมู่บ้านรอบในจะใช้น้ าจากประปาหมู่บ้านและแหล่งน้ำใกล้เคียง น้ำบริโภค ประชาชนจะดื่มน้ำจากการรองน้ำฝนใส่โอ่ง/ตุํม และซื้อจากผู้ประกอบการในชุมชนที่ทำเป็นธุรกิจขนาดย่อม ขายในราคาไม่แพง

× องค์การบริหารส่วนตำบลบัวงาม